วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


บทที่ 5
การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
( Data communication and computer network )

               การติดต่อสื่อสารข้อมูลสมัยใหม่นี้มีรากฐานมาจากความพยายามในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์โดยอาศัยระบบสื่อสารที่มีอยู่แล้ว เช่น โทรศัพท์ ลักษณะของเครือข่ายจึงเริ่มจากจุดเล็ก ๆ อาจจะอยู่บนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เดียวกันขยายตัวใหญ่ขึ้นเป็นทั้งระบบที่ทำงานร่วมกันในห้องทำงานในตึกระหว่างตึกระหว่างสถาบันระหว่างเมืองระหว่างประเทศ บทบาทที่สำคัญคือการให้บริการข้อมูลหลายประเทศจัดให้มีฐานข้อมูลไว้บริการเช่นฐานข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมฐานข้อมูลวิจัยฐานข้อมูลทางเศรษฐกิจฐานข้อมูลของ
ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
            `1. การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว
             2. ความถูกต้องของข้อมูล
             3. ความเร็วในการทำงาน
             4. ต้นทุนประหยัด
การสื่อสารข้อมูล
              องค์ประกอบหลักของระบบสื่อสารข้อมูลมีอยู่ 5 อย่างได้แก่ ผู้ส่ง ผู้รับ ข่าวสาร สื่อกลาง และโพรโทรคอล
วิธีการถ่ายโอนข้อมูล  การถ่ายโอนข้อมูลคือการส่งสัญญาณออกจากเครื่องและรับส่งสัญญาณข้าไปในเครื่องสามารถจำแนกได้ 2 แบบคือ
                  -      การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน คือการส่งข้อมูลครั้งละหลาย ๆ บิตพร้อมกันไปจากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางหลาย ๆ ช่องทางโดยมากจะเป็นสายนำสัญญาณหลาย ๆ เส้นโดยจำนวนสายส่งจะต้องเท่ากับจำนวนบิตที่ที่ต้องการส่งแต่ละครั้งวิธีนี้นิยมใช้กับการส่งข้อมูลระยะยาวของสายไม่ควรยาวมากเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสัญญาณสูญหายไปกับความต้านทานของของสาย
                  -       การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม เป็นการส่งข้อมูลครั้งละ 1 บิตไปบนสัญญาณจนครบจำนวนข้อมูลที่มีอยู่สามารถนำไปใช้กับสื่อนำข้อมูลที่มีเพียง  1 ช่องสัญญาณได้สื่อนำข้อมูลที่มี 1ช่องสัญญาณนี้จะมีราคาถูกกว่าสื่อนำข้อมูลที่มีหลายช่องสัญญาณและเนื่องจากการสื่อสารแบบอนุกรมมีการส่งข้อมูลได้ครั้งละ 1 บิตเท่านั้นการส่งข้อมูลประเภทนี้จึงช้ากว่าการส่งข้อมูลครั้งละหลายบิตการส่งข้อมูลแบบอนุกรมแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
                 -         การสส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส
                 -         การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส
การติดต่อแบบอนุกรมแบ่งตามรูปแบบการรับ ส่งได้ 3 แบบคือ
การสื่อสารทางเดียว
             เป็นการติดต่อทางเดียวเมื่ออุปกรณ์หนึ่งส่งข้อมูลอุปกรณ์อีกชุดหนึ่งจะต้องเป็นฝ่ายรับข้อมูลเสมอ
แบบกึ่งสองทิศทาง 
             เป็นการติดต่อกึ่งสองทางมีการเปลี่ยนเส้นทางในการส่งข้อมูลได้แต่ละเวลากล่าวคือข้อมูลจะไหลไปทางเดียวกัน
การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
            การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง การโอนถ่าย ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งต้นทางกับผู้รับปลายทาง ทั้งข้อมูลประเภท ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือข้อมูลสื่อผสม เป็นต้น

ประเภทของสัญญาณ
            ข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ต้องเป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า ซึ่งสามารถจำแนกสัญญาณได้ 2 ลักษณะ
                 -          สัญญาณแบบดิจิทัล  (  Digitalls Signal )
                 -           สัญญาณอนาล็อก ( Analog signal  )

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล
            ตัวกลางหรือสานเชื่อมโยงเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันและอุปกรณ์นี้ยอมให้ข่าวสารข้อมูลเดินทางผ่านจากผู้ส่งผู้รับสื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่หลายประเภทซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สื่อสัญญาณทางและสื่อสัญญาณไร้สาย

สื่อกลางประเภทไร้สาย
            สำหรับการสื่อสารแบบไร้สายการรับส่งข้อมูลโดยทั่วไปจะผ่านอากาศซึ่งภายในอากาศนั้นจะมีพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายอยู่ทั่วไปโดยจะต้องมีอุปกรณ์ที่คอยจัดการกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านั้นซึ่งโยปกติจะต้องมีอยู่ 2 ชนิดคือ
                -          `แบบ Directional  เป็นแบบกำหนดทิศทางของสัญญาณด้วยการโฟกัสคลื่นนั้น ๆ ซึ่งจะต้องมีการส่งด้วยความระมัดระวังโดยจะต้องอยู่ในระนาบเดียวกัน

                -           แบบ Omanidirectional เป็นแบบกระจายสัญญาณรอบทิศทางซึ่งสัญญาณที่ส่งออกไปนั้นจะกระจายหรือแพร่ไปทั่วทิศทางในอากาศทำให้สามารถรับส่งสัญญาณเหล่านี้ได้ด้วยการตั้งเสาอากาศ เช่น วิทยุกระจายเสียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น