บทที่11
การยศาสตร์( Ergonomics )
ความหมายของ การยศาสตร์
การยศาสตร์ ( Ergonomics )
แปลได้ว่ากฎของงานซึ่งเป็นศาสตร์หรือวิชาการที่เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพงานให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานหรือเป็นการปรับกรุงสภาพการทำงานอย่างเป็นระบบส่วนประกอบในการทำงานประกอบด้วย
1. มนุษย์
2. Interation ในการทำงาน
3. สภาวะแวดล้อมในการทำงานได้แก่แง
สี เสียง
ปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวกับกับการยศาสตร์
1. สภาพแวดล้อมทั่วไป
เช่น เสียงแสง
2. สภาพแวดล้อมในการทำงาน
3. จิตทยาสังคม
4. ร่างกาย
ปัญหาสุขภาพและการดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ความล้าทางสายตา
มีปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาได้ดังนี้
1. ความผิคปกติของผิวตา
ได้แก่ นัยน์ตาแห้งไร้ความชุ่มชื้นเกิดได้จาก สิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน การกระพริบตาที่ลดลง พื้นที่ลูกตา
การใส่คอนแท็คเลนส
2. การปรับโฟกัส เกิดได้จาก
แสงหลอดไฟและแสงจ้า, การกระพริบของหน้าจอ, ขนาดของตัวหนังสือ,
3. การจัดวางคอมพิวเตอร์ เกิดได้จาก
ระยะห่างตากับจอภาพ, มุมของตากับจอภาพ
มีแนวทางในการแก้ไขดังนี้
1. สถานที่ทำงาน
- ควรใช้จอแบนหรือจอ LCD
- เลือกจอภาพที่มีค่า Refresh Rate สูง
- เลือกใช้ตัวอักษรเข้มบนพื้นจอสีอ่อน
- ปรับความสว่างและความแตกต่างของสีให้สามารถมองเห็นภาพได้คมชัดและ- - สบายตามากที่สุด
- ควรจัดวางจอภาพให้มีระยะห่างจากตา 60 เซนติเมตร
- ขอบบนสุดควรอยู่ในระดับสายตา
- ควรวางคีย์บอร์ดอยู่ในระดับต่ำกว่าจอโดยให้ข้อมือและแขนขนานไปกับพื้น
- โต๊ะควรควรสูงพอสำหรับมีที่ว่างให้เขาไม่ติดโต๊ะ
2. แสงไฟไม่ควรอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านหลังควรมาจากทางด้านข้างของจอภาพ
3. การพักสายตา
4. การปรับพฤติกรรมการใช้สายตา
5. การใช้น้ำตาเทียม
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง
- ท่านั่งทำงานไม่เหมาะสม
- ลักษณะงานที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่องนาน
ๆ
- กล้ามเนื้อมีการทำงานมากเกินไป
- ขาดการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง
อาการที่แสดงของโรคกล้ามเนื้อ
- มีอาการปวดร้าวลึก
ๆ โดยปวดตลอดเวลา
- ความรุนแรงมีได้ตั้งแต่การเมื่อยล้าจนไปถึงปวดทรมาน
- อาจมีอาการชามือและขาร่วมด้วย
- มีอาการผิดปกติของโครงสร้างร่างกายเช่นไหล่สูงต่ำไม่เท่ากัน
แนวทางรักษา
- การใช้ความร้อน
- การยืดกล้ามเนื้อ
โรคปวดหลังส่วนล่าง ( Low Back Pain )
สาเหตุของอาการปวดหลัง
- กล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง
- หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับรากประสาท
- ข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม
- ช่องกระดูกสันหลังตีบแคบ
- ความไม่มั่นคงของข้อต่อ
Ergonomics tips เคล็ดลับป้องกันโรคจากคอมพิวเตอร์
การปรับแต่งสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
คีย์บอร์ด
คีย์บอร์ด
-
ควรปล่อยข้อมือให้อยู่ในลักษณะเป็นธรรมชาติอย่างอขึ้นหรืองอลงขณะที่พิมพ์
-
ต้องมั่นใจว่าข้อศอกอยู่ในมุมที่เปิด
90 องศา
-
ตำแหน่งที่นั่งต้องอยู่ตรงกลางของคีย์บอร์ดอย่าเอียงไปทางซ้ายหรือขวา
-
พยายามอย่าวางมือไว้บนที่รองแขนอาจใช้ตอนเวลาพักจริง
ๆ
-
หาโปรแกรมพิมพ์ด้วยเสียงมาใช้จะได้ไม่ต้องเมื่อย
เคล็ดลับสำหรับการใช้จอภาพ
-
ปฏิบัติตามหลัก 20:20:20 คือ เบรกสัก 20 วินาที
หลังจากทำงาน 20 นาที และมองไกล 20 ฟุต
-
หมั่นทำความสะอาดหน้าจอ
เก้าอี้
-
เก้าอี้ควรจะปรับระดับความสูงควรนั่งพิงพนักให้เต็มไม่ควรนั่งงอตัว
-
เบาะเก้าอี้ไม่ควรแหงนขึ้นหรือแหงนลงควรจะขนานกับพื้นควรนั่งให้เป็นมุม
90 องศา
แสง ( Lighting
)
-
ควรใช้โคมไฟที่มีแสงสีขาวมีแสงสว่างเพียงพอต่อการมองเห็น
-
ตำแหน่งของไฟนั้นสามารถปรับขึ้นและลงได้
-
ควรติดผ้าม่านเพื่อป้องกันแสงจากภายนอก
-
หลอดไฟควรมีแสงสว่างในโทนเดียวกัน
-
ไม่ควรทาสีผนังที่ฉูดฉาดเกินไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น