วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



บทที่11
การยศาสตร์( Ergonomics )
ความหมายของ การยศาสตร์
            การยศาสตร์ ( Ergonomics ) แปลได้ว่ากฎของงานซึ่งเป็นศาสตร์หรือวิชาการที่เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพงานให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานหรือเป็นการปรับกรุงสภาพการทำงานอย่างเป็นระบบส่วนประกอบในการทำงานประกอบด้วย
                         1.   มนุษย์
                                         2.    Interation ในการทำงาน
                                      3.    สภาวะแวดล้อมในการทำงานได้แก่แง สี เสียง
ปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวกับกับการยศาสตร์
                        1.   สภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น เสียงแสง
                        2.   สภาพแวดล้อมในการทำงาน
                        3.   จิตทยาสังคม
                       4.  ร่างกาย
ปัญหาสุขภาพและการดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ความล้าทางสายตา
มีปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาได้ดังนี้                        
          1.    ความผิคปกติของผิวตา ได้แก่ นัยน์ตาแห้งไร้ความชุ่มชื้นเกิดได้จาก สิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน  การกระพริบตาที่ลดลง พื้นที่ลูกตา การใส่คอนแท็คเลนส
          2.  การปรับโฟกัส  เกิดได้จาก  แสงหลอดไฟและแสงจ้า, การกระพริบของหน้าจอ, ขนาดของตัวหนังสือ,
          3.  การจัดวางคอมพิวเตอร์  เกิดได้จาก  ระยะห่างตากับจอภาพ, มุมของตากับจอภาพ
มีแนวทางในการแก้ไขดังนี้
          1.  สถานที่ทำงาน
- ควรใช้จอแบนหรือจอ LCD
- เลือกจอภาพที่มีค่า Refresh Rate สูง
- เลือกใช้ตัวอักษรเข้มบนพื้นจอสีอ่อน
- ปรับความสว่างและความแตกต่างของสีให้สามารถมองเห็นภาพได้คมชัดและ- - สบายตามากที่สุด
- ควรจัดวางจอภาพให้มีระยะห่างจากตา 60 เซนติเมตร
- ขอบบนสุดควรอยู่ในระดับสายตา
- ควรวางคีย์บอร์ดอยู่ในระดับต่ำกว่าจอโดยให้ข้อมือและแขนขนานไปกับพื้น
- โต๊ะควรควรสูงพอสำหรับมีที่ว่างให้เขาไม่ติดโต๊ะ
                                     2.   แสงไฟไม่ควรอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านหลังควรมาจากทางด้านข้างของจอภาพ
                                    3.   การพักสายตา
                4.   การปรับพฤติกรรมการใช้สายตา
                5.   การใช้น้ำตาเทียม
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง
     -  ท่านั่งทำงานไม่เหมาะสม
     -  ลักษณะงานที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่องนาน ๆ
                                   -  กล้ามเนื้อมีการทำงานมากเกินไป
                                  - ขาดการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง
อาการที่แสดงของโรคกล้ามเนื้อ
           -           มีอาการปวดร้าวลึก ๆ โดยปวดตลอดเวลา
           -         ความรุนแรงมีได้ตั้งแต่การเมื่อยล้าจนไปถึงปวดทรมาน
           -          อาจมีอาการชามือและขาร่วมด้วย
           -           มีอาการผิดปกติของโครงสร้างร่างกายเช่นไหล่สูงต่ำไม่เท่ากัน
แนวทางรักษา
           -           การใช้ความร้อน
           -          การยืดกล้ามเนื้อ
โรคปวดหลังส่วนล่าง ( Low Back Pain )
สาเหตุของอาการปวดหลัง
                       -          กล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง
                       -          หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับรากประสาท
                       -          ข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม
                       -          ช่องกระดูกสันหลังตีบแคบ
                       -           ความไม่มั่นคงของข้อต่อ
Ergonomics tips เคล็ดลับป้องกันโรคจากคอมพิวเตอร์
การปรับแต่งสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
คีย์บอร์ด
-         ควรปล่อยข้อมือให้อยู่ในลักษณะเป็นธรรมชาติอย่างอขึ้นหรืองอลงขณะที่พิมพ์
-         ต้องมั่นใจว่าข้อศอกอยู่ในมุมที่เปิด 90 องศา
-         ตำแหน่งที่นั่งต้องอยู่ตรงกลางของคีย์บอร์ดอย่าเอียงไปทางซ้ายหรือขวา
-         พยายามอย่าวางมือไว้บนที่รองแขนอาจใช้ตอนเวลาพักจริง ๆ
-         หาโปรแกรมพิมพ์ด้วยเสียงมาใช้จะได้ไม่ต้องเมื่อย
เคล็ดลับสำหรับการใช้จอภาพ
-         ปฏิบัติตามหลัก 20:20:20 คือ เบรกสัก 20 วินาที หลังจากทำงาน 20 นาที และมองไกล 20 ฟุต
-         หมั่นทำความสะอาดหน้าจอ
เก้าอี้
-         เก้าอี้ควรจะปรับระดับความสูงควรนั่งพิงพนักให้เต็มไม่ควรนั่งงอตัว
-         เบาะเก้าอี้ไม่ควรแหงนขึ้นหรือแหงนลงควรจะขนานกับพื้นควรนั่งให้เป็นมุม 90 องศา
แสง ( Lighting )
-         ควรใช้โคมไฟที่มีแสงสีขาวมีแสงสว่างเพียงพอต่อการมองเห็น
-         ตำแหน่งของไฟนั้นสามารถปรับขึ้นและลงได้
-         ควรติดผ้าม่านเพื่อป้องกันแสงจากภายนอก
-         หลอดไฟควรมีแสงสว่างในโทนเดียวกัน
-         ไม่ควรทาสีผนังที่ฉูดฉาดเกินไป






บทที่  10
ความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ
            ความปลอดภัยขอวสารสนเทศมีองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ 
           1.  ความลับ  ( Confidentiality )
ในทางคอมพิวเตอร์หมายถึงการรับรองว่าจะมีการเก็บข้อมูลไว้เป็นความลับและผู้ที่มีสิทธิเท่านั้นจึงจะเข้าถึงข้อมูลนั้นได้ เนื่องจากข้อมูลบางอย่างในองค์กรมีความสำคัญและไม่สามารถเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกองค์กรได้ ช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกคุกคามของระบบ ถือเป็นการปกป้องความมั่นคงปลอดภัยของระบบและตัวองค์กรเอง
2.   ความถูกต้องสมบูรณ์ ( Integrity )
การปกป้องสารสนเทศให้มีความถูกต้องสมบูรณ์มีความสำคัญและจำเป็น เพราะมีผลต่อความน่าเชื่อถือของสารสนเทศ มาตรการควบคุมความปลอดภัยของสารสนเทศจะต้องมีกลไกตรวจสอบสิทธิ์ การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข้ข้อมูลหรือกระทำใด ๆ ที่ส่งผลให้ข้อมูลคงความถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์ตามความเป็นจริง
          3.  ความพร้อมใช้งาน ( Availability )
การกระทำให้ระบบสารสนเทศสามารถตอบสนองความต้องของผู้ใช้งานที่มีสิทธิ์เข้าถึงระบบได้เทื่อต้องการ

ภัยคุกคามและช่องโหว่
            ภัยคุกคามคือสาเหตุของสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบคอมพิวเตอร์หรือองค์กร และเป็นอุปสรรคในการให้บริการ โดยอาจเกิดจากมนุษย์ ภัยธรรมชาติ รวมถึงปัจจัยอื่น ซึ่งมีแนวโน้มทำให้เกิดความเสียหาย
            ช่องโหว่ คือ จุดอ่อนของทรัพย์สินที่ถูกภัยคุกคามใช้เป็นช่องทางในการโจมตี ทำให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายภัยคุกคามจะใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ต่าง ๆ โจมตีระบบคอมพิวเตอร์

โปรแกรมประสงค์ร้าย
            มัลแวร์ หรือ Malicious software คือ ซอฟแวร์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อแอบเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยที่ผู้ใช้ไม่อนุญาต มัลแวร์มีหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสคอมพิวเตอร์ หนอน โทรจัน สปายแวร์ และซอฟแวร์อื่น ๆ ที่เป็นอันตราย
            ไวรัส (Virus ) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาของตัวเองเพื่อเผยแพร่ออกไปโดยการสอดแทรกตัวสำเนาไปในรหัสคอมพิวเตอร์
            หนอน ( Worm ) เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้งหมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
ม้าโทรจัน ( Trojan ) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อแอบแฝงกระทำการบางอย่างในเครื่องของเราจากผู้ที่ไม่หวังดีการติดตั้งนั้นไม่เหมือนไวรัสกับหนอนแต่มันจะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล หรือโปรแกรมที่มีให้โหลดบนอินเทอร์
สปายแวร์ ( Spyware ) คือ ประเถทโปรแกมที่บันทึกการกระทำของผู้ใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมขะแอบดักข้อมูลนั้นบางโปรแกรมอาจบันทึกว่าผู้ใช้พิมพ์อะไรบ้างเพื่อพยายามค้นหารหัสผ่าน หรือหมายเลขบัตรเครดิต

โปรแกรมป้องกันและกำจัดการคุกคาม ( Anti malware software )
            แอนติไวรัส/แอนติสปายแวร์ เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันและกำจัดโปรแกรมคุกคามทางคอมพิวเตอร์หรือมัลแวร์ จากผู้ที่ไม่หวังดีทางอินเทอร์เน็ตโปรแกรมป้องกันไวรัสมี 2 แบบใหญ่ ๆ คือ
          -   แอนดิไวรัส เป็นโปรแกรมป้องกันไวรัสทั่วไปจะค้นหาลำทำลายไวรัสในคอมพิวเตอร์ของเรา
          -   แอนติสปายแวร์ เป็นโปรแกรมป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูล จากไวรัสสสปายแวร์และจากแฮ็คเกอร์ รวมถึงกำจัด Ads ware ซึ่งเป็นป๊อปอัพโฆษณาอีกด้วย
เทคโนโลยีด้านความปลอดภัย
ไฟร์วอลล์ คือ ซอฟแวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครือข่าย หน้าที่ของไฟร์วอลล์ คือเป็นตัวกรอกข้อมูลสื่อสารระหว่างเขตที่เชื่อถือต่างกัน
วิทยาการเข้ารหัสลับ ( Cryptography / cryptology ) คือวิชาเกี่ยวกับการเข้ารหัสลับคือคือการแปลงข้อความปกติให้กลายเป็นข้อความรับโดยข้อความรับคือข้อความที่ผู้อื่นนอกเหนือจากผู้สนทนาที่ต้องการ ไม่สามารถเข้าใจได้
ระบบการเข้ารหัสข้อมูล (Cryptography ) หมายถึงวิธีการที่ทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเพื่อไม่ให้สามารถแปลความได้จากบุคคลที่เราไม่ต้องการให้เข้าใจข้อมูลส่วนการถอดรหัสข้อมูลหมายถึงวิธีการที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงรหัสข้อมูลเป็นข้อมูลก่อนที่จะถูกทำการเข้ารหัสการที่จะทำให้ข้อมูลเป็นความลับจุดหลักคือต้องไม่ให้ข้อมูลความลับนี้ถูกอ่านโดยบุคคลอื่นแต่ให้ถูกอ่านได้โดยบุคคลที่เราต้องการให้อ่านเท่านั้น     
ความต้องการของเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล
            การระบุตัวบุคคลได้
            รักษาความลับ
            การรักษาความถูกต้องสมบูรณ์
            การป้องกันและปฏิเสธความรับผิดชอบ
ข้อแนะนำพื้นฐานในการกำหนดรหัสผ่านที่ปลอดภัย
1. การกำหนดรหัสผ่านให้มีความยาวอย่างน้อย 8 ตัวอักษร
1.1  อักษรตัวพิมพ์เล็ก
1.2   อักษรตัวพิมพ์ใหญ่
1.3  ตัวเลข
1.4  สัญลักษณ์
1.5  อักษรแบบยูนิโค้ด
2. รหัสผ่านไม่ควรที่จะประกอบด้วยตัวอักษรที่มีอยู่ในชื่อ เกินกว่า 3 ตัวอักษร
เพื่อให้มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นควรทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำอย่างน้อยทุก 42 วัน
 3ไม่ควรใช้รหัสผ่านซ้ำกับรหัสผ่านที่เคยใช้มาแล้ว
อย่าเขียนรหัสผ่านบนกระดาษโดยเด็ดขาด
สิ่งที่ควรทำในการเลือกรหัสผ่าน
      -           กำหนดรหัสผ่านโดยให้ประกอบด้วยตัวอักษร สัญลักษณ์ และตัวเลข ซึ่งง่ายในการจดจำของท่านแต่ยากในการเดาของคนอื่น
      -           กำหนดรหัสผ่านให้สามารถอ่านเป็นคำพูดได้ง่ายในการจดจำของท่าน
      -           การกำหนดรหัสผ่านโดยใช้วลีที่ท่านชอบหหรือพูดบ่อย ๆ โดยอย่าลืมเพื่มตัวเลขหรืออักขระพิเศษเข้าไปด้วย
      -           กำหนดรหัสผ่านโดยใช้สิ่งของ 2 อย่างมารวมกัน















บทที่9
กูเกิ้ลแอพพลิเคชั่น ( Goolge Application )

กูเกิ้ลแอพพลิเคชั่น จะประกอบไปด้วยโปรแกรมย่อย ๆ หลายตัว เช่น แผนที่ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ปฏิทิน

กูเกิ้ลเมลล์ ( http://www.google.com)
            เป็นหลักการที่จะต้องมีหากเราต้องการใช้บริการอย่างอื่นของกูเกิ้ลเพราะข้อกำหนดหลักของกูเกิ้ลคือจะใช้อีเมลล์ของกูเกิ้ลในการเข้าใช้บริการอื่น ๆ ทั้งหมดดังนั้นควรจะต้องทำการสมัครใช้บริการอีเมลล์ของกูเกิ้ลก่อน

แผนที่ ( Google map )
            โปรแกรมนี้คือการบอกเส้นทางให้แก่ผู้ใช้ เบื้อนต้นมาจะสามารถเดินทางไปถึงปลายทางได้อย่างไรการแสดงผลของกูเกิ้ลมีอยู่สองอย่าง คือ เป็นแบบแผนที่และมุมองแบบดาวเทียม

ปฏิทิน ( Calendar
            เป็นบริการจัดตารางนัดหมายประจำวัน ผู้ใช้สามารถที่จะกำหนดวัน เวลานัดหมายผ่านบริการนี้ นอกจากนี้ยังสามารถที่จะแลกเปลียนตารางนัดหมายกับบุคคลอื่ได้ การใช้งานตารางนัดหมายสามารถเรียกใช้ผ่านอีเมลล์ของกูเกิ้ล

กูเกิ้ลดอคคิวเมนท์ ( Google document )
            โปรแกรมกูเกิ้ลดอคคิวเมนท์ เป็นโปรแกรมที่จัดการเรื่องเอกสารสำหรับผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์เอกสาร โปรแกรมตารางคำนวณ โปรแกรมนำเสนอ บริการฝากไฟล์ เป็นต้น ผู้ใช้ไม่จำเป็นจะต้องจัดเก็บเอกสารต่าง ๆ ที่ได้ทำขึ้นมาบนสื่อเก็บข้อมูลของตนเอง ผู้ใช้สามารถที่จะบันทึกข้อมูลที่ได้จัดทำขึ้นฝากไว้บนเครื่องให้บริการของกูเกิ้ล และสามารถเรียกใช้ได้ภายหลัง










บทที่ 8
เครือข่ายสังคมออนไลน์ ( Social Network )
ความเป็นมาของสังคมเครือข่ายออนไลน์

            เครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือที่เราได้ยินกันบ่อยว่า Social Network เกิดจาการพัฒนาเทคโนโลยีและเว็บรูปแบบใหม่นั้นคือ Wed 2.0  เน้นให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ลงบนเว็บไซต์ร่วมกัน และสามารถโต้ตอบกับข้อมูลที่มีอยู่บนเว็บไซต์ได้ มีลักษณะเป็น Dynamic Web ที่ผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหาแลกเปลี่ยน และกระจายข้อมูลแบ่งปันถึงกันได้ตั้งแต่ระดับบุคคล กลุ่ม และระดับองค์กร เป็นยุคของการสื่อสารสองทางและเมื่อมีการพัฒนาต่อเพื่อก้าวไปสู่ยุค Web 3.0 หรือ Semantic Web ยิ่งทำให้กระแสความนิยมการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์มีการเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง

ความหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์
            เครือข่ายสังคมออนไลน์ หมายถึง การสื่อสาร สนทนา แลกเปลี่ยนข้อมูลอาจจะเป็นข้อความ รูป เสียง วีดีโอ หรือเล่นเกมส์ ผ่านระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันบนโลกอินเทอร์เน็ตผู้ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์สามารถเชื่อมต่อกับผู้ใช้บริการคนอื่น ๆ เป็นเครือข่ายชุมชนบนระบบเครือข่ายต่อกันไปเรื่อย ๆ โดยเครือข่ายสังคมออนไลน์นี้อาจจะเป็นบุคคล หน่วยงาย องค์กรหรือกลุ่มที่รวมตัวกันเพื่อกิจกรรม ตามความสนใจ ตามความชื่นชอบ ที่มีเป้าหมายเดียวกันสร้างขึ้นเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารกันก็ได้

ประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์
            ปัจจุบันมีเว็บไซต์ในลักษณะเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นจำนวนมาก ทั้งที่มีเป้าหมายเชิงพาณิชย์ และไม่แสวงหาผลกำไร จึงเป็นการยากที่จะจำแนกได้อย่างชัดเจน แต่หากลองแบ่งตามประเภทการใช้งาน จะสามารถแบ่งได้ 6 ประเภท ดังนี้
1.           ประเภทแหล่งข้อมูลหรือความรู้
2.           ประเภทเกมออนไลน์
3.           ประเภทสร้างเครือข่ายสังคมสร้างการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน
4.           ประเภทฝากภาพ
5.           ประเภทสื่อ  ฝาก โพสท์ หรือแบ่งปันภาพ คลิปวีดีโอ ภาพยนตร์ เพลง
6.           ประเภทซื้อขาย

เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์
            เว็บไซต์ในลักษณะเครือข่ายสังคมออนไลน์ในปัจจุบันมีจำนวนมาก และหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกก็มีเว็บไซต์ที่มีที่ความนิยมเฉพาะขิงแต่ละประเทศ เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่นิยมใช้กัน คือ
            WWW.hi5.com
เว็บไซต์ไฮไฟว์ (Hi5 ) เป็นเว็บไซต์ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เป็นเว็บไซต์ในลักษณะเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้บริการมาฝาก Profile ของตนเองคล้ายกับ Bing สมาชิกส่วนใหญ่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มเพื่อนแลกเปลี่ยนประสบการณ์แชร์รูปภาพ เพลง วีดีโอ เล่นเกมส์ รวมทั้งเชื่อมโยงบริการต่าง ๆ อย่างเมลล์ เว็บบอร์ด เมสเซ็นเจอร์ เป็นต้น
            WWW.facefook.com
เฟสบุ๊คกำเนิดมาจาการเจาะระบบจริง ๆ ซักเคอร์เบิร์ก ต้องการจะทำหนังสือรุ่นออนไลน์ของ Harvard แต่ Harvard กลับปฏิเสธว่าไม่สามารถจะรวบรวมข้อมูลได้ ซักเคอร์เบิร์กจึงเจาะเข้าไปในระบบทะเบียนประวัตินักศึกษา Harvard และทำเว็บไซต์ชื่อ Facmash ซึ่งจะสุ่มเลือกรูปของนักศึกษา 2 คนขึ้นมา และเชิญให้ผู้เข้ามาในเว็บเลือกว่าใครฮอตกว่ากัน เฟศบุ๊คเปิดตัวเมื่อวัน 4 กุมภาพันธ์ /994 ภายในเวลาเพียง 2 สัปดาห์นักศึกษาครึ่งหนึ่งของ Harvard ลงทะเบียนในเว็ฐแห่งนี้และเพิ่มเป็น 2 ใน 3 ของนักศึกษา Harvard ทั้งหมดในเวลาอันรวดเร็วนอกจากนี้เฟสบุ๊คยังได้รับการจัดอันดับเป็นเว็บที่ผู้ใช้ Upload รูปขึ้นไปเก็บไว้มากเป็นอันดับหนึ่งของสหรัฐโดยจำนวนรูปที่ถูก Upload ขึ้นไปบนเว็บ 6 ล้านรูปต่อวันและกำลังเริ่มจะเป็นคู่แข่งกับ google และเว็บยักษ์อื่น ๆ
            http://twitter.com
ทวิตเตอร์เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อกโดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษรว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ หรือ ทวีต ทวิตเตอร์ก่อตั้งโดย แจ็กคอร์ซีย์,  บิซสโตน และอีวาน วิลเลียมส์ บริษัท Obvious Cord เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2006 ที่ซานฟรานซิสโกสหรัฐอเมริกา
            https://plus.google.com
กูเกิ้ลพลัส เป็นเครือข่ายสังคมให้บริการโดยกูเกิ้ลโดยเปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ผู้ที่จะเข้ามาทดลองใช้ต้องได้รับเชิญจากบุคคลที่ใช้อยู่เท่านั้นอย่างไรก็ตามระบบการเชิญถูกยุติ เนื่องจากมีการใช้งานเป็นจำนวนมากเกินกว่าที่ระบบจะรองรับได้ภายหลังในวันที่ 20 กันยายน 2554 จึงเปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปใช้งานได้